ภารกิจพิเศษ
1.สรุปเนื้อหาวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องสินไซ
มีเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองปัญจาล ซึ่งมีท้าวกุสราชครอง
มีมเหสีชื่อนางจันทา พระขนิษฐาของท้าวกุสราช ชื่อนางสุมณฑา
ถูกยักษ์ลักพาไปเป็นชายา ภายหลังจึงพาชายาทั้งเจ็ดกลับเมือง
อยู่มาไม่นานพระชายาทั้งเจ็ดและพระมเหสีตั้งครรภ์ ประสูติออกมาเป็นโอรสทุกพระองค์
พระมเหสีนางจันทาเทวีประสูติโอรสเป็นราชสีห์ชื่อว่า " สีโห "
ส่วนพระชายาองค์สุดท้องประสูติโอรสชื่อว่า " สินไซ (ศิลปชัย) "
และมีสังข์เป็นอาวุธติดมือมาพร้อมกับประสูติ หมอหูฮา (โหรา)
ทำนายว่าพระโอรสสินไซมีบุญญาธิการมาก สามารถปราบยักษ์และศัตรูได้ทั่วจักรวาล
พี่สาวทั้งหกอิจฉาน้องสาวมา จึงติดสินบนหมอหูฮาให้ทำนายเท็จกราบทูลท้าวกุสราช
ท้าวกุสราช จึงจำยอมขับไล่นางและโอรสสินไซออกจากเมือง
เพราะหมอหูฮาทูลว่าพระโอรสจะนำความวิบัติมาสู่บ้านเมือง ท้าวสีโหโอรสมเหสีจันทาขอติดตามสินไซไปด้วย
มารดาสินไซพร้อมด้วยท้าวสีโหและสินไซก็เดินป่าพเนจรไป
พระอินทร์ทราบเรื่องจึงมาเนรมิตกระท่อมให้แม่ลูกอาศัยอยู่
หกกุมารเจริญวัยได้เสด็จประพาสป่ามาพบกระท่อมของสินไซและมารดา
สินไซได้แสดงอภินิหารให้กุมารทั้งหกชม
วันหนึ่งกุมารทั้งหกอยากอวดอิทธิฤทธิ์ให้บิดาชม
จึงมาติดสินบนให้สินไซเรียกสัตว์เข้าเมือง
พระบิดาเห็นดังนั้นจึงคิดว่าพระกุมารมีอิทธิฤทธิ์สามารถเรียกสัตว์ป่าได้จริง ๆ
พระบิดาจึงสั่งให้กุมารทั้งหกไปติดตามหานางสุมณฑาที่ยักษ์ลักพาไป
พระกุมารทั้งหกจึงอ้อนวอนให้สินไซช่วยเหลือไปตามพระเจ้าอา
พระมารดาไม่อยากให้สินไซไป แต่สินไซได้รับรองกับพระมารดาว่าตนเองมีอิทธิฤทธิ์
มีทั้งสังข์ และท้าวสีโหที่จะช่วยขจัดภัยพิบัติทั้งปวง
พระมารดาจึงยินยอมให้ไปกับกุมารทั้งหก
เมื่อกองโยธาไปถึงฝั่งมหาสมุทรสินไซจึงให้กองโยธาและกุมารทั้งหกตั้งทัพคอยอยู่ที่ฝั่งน้ำ
ตนและสีโหจะไปยังเมืองยักษ์ติดตามนางสุมณฑาเอง
สินไซก็ขี่ท้าวสีโหเหาะไปจนถึงเมืองยักษ์ ได้พบนางสุมณฑาเล่าเรื่องของตนให้ฟัง
นางสุมณฑาก็ยินดีแต่นางเองก็ห่วงพระธิดาชื่อนางสีดาจันทร์ ที่ตกเป็นชายาท้าววรุณนะราชพระยานาค
เพราะยักษ์ผู้เป็นบิดาเสียพนันกับท้าววรุณนะราชพระยานาค
เมื่อยักษ์ผู้เป็นสามีนางสุมณฑาเข้าเมืองทราบว่ามีมนุษย์อยู่ในปราสาท
จึงตามหาจนพบสินไซ ทั้งสองรบกันด้วยศาสตร์ศิลป์ต่าง ๆ นานา
ในที่สุดสินไซก็ฆ่ายักษ์ได้ และไปเมืองนาคเล่นพนันเอาเมืองกับท้าววรุณนะราชพระยานาค
ท้าววรุณนะราชพระยานาค แพ้ยอมยกเมืองให้ แต่ไม่ยอมให้นางสีดาจันทร์
ทั้งสองจึงรบกันสินไซชิงนางไปได้
จึงพานางสุดาจันทร์และนางสุมณฑากลับมายังฝั่งมหาสมุทรที่กุมารตั้งทัพคอยอยู่
กุมารทั้งหกดีพระทัยมาก แต่ไม่รู้จะไปทูลพระบิดาอย่างไรดี จึงหาอุบายฆ่าสินไซ
เมื่อได้โอกาสจึงผลักสินไซตกเหวพร้อมกับสีโห
หกกุมารจึงยกทัพกลับเมืองพานางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์เข้าเมือง
ระหว่าทางนางสุมณฑาเป็นห่วงสินไซมาก
แต่ก็จนใจจึงนำผ้าสไบแขวนไว้อธิษฐานว่าหากสินไซยังมีชีวิตอยู่ ขอให้นางได้พบผ้าผืนนี้อีก
หกกุมารยกทัพกลับถึงเมือง
ท้าวกุสราชบิดาทรงดีพระทัยมาก
ที่หกกุมารมีอิทธิฤทธิ์ปราบยักษ์ปราบนาคได้สำเร็จ จึงจัดงานเฉลิมฉลองเป็นการใหญ่
ส่วนนางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์ไม่กล้าจะทูลความจริง เพราะคิดว่าสินไซคงตายแล้ว
วันหนึ่งพ่อค้าสำเภาได้พบผ้าสไบซึ่งเป็นผ้ากษัตริย์ จึงนำมาถวายท้าวกุสราช
นางสุมณฑาเห็นผ้าของตนที่อธิฐานไว้ จึงทราบว่าพระสินไซยังมีชีวิตอยู่
จึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ท้าวกุสราชฟัง
ท้าวกุสราชจึงจัดงานฉลองพระนครเจ็ดวันเจ็ดคืน
เพื่ออุบายให้ท้าวสินไซมาเที่ยวงานเฉลิมฉลอง และให้นางสุมณฑาคอยติดตามดูคนมาเที่ยวงานเพื่อตามหาสินไซ
ฝ่ายสินไซเมื่อถูกผลักตกเหวร้อนถึงพระอินทร์ ๆ
มาช่วยชุบชีวิตแล้วให้กลับไปอยู่กับมารดาตามเดิม
เมื่อมีงานฉลองพระนครก็ไปเดินเที่ยว
นางสุมณฑาพบเข้าจึงให้เข้าเฝ้าท้าวกุสราช ๆ สอบถามความจริงจึงสั่งให้ประหารหมอหูฮา
และขับไล่พระกุมารทั้งหกและพระชายาทั้งหกไปอยู่เมืองจำปา
ท้าวกุศราชก็แต่งราชรถไปรับพระชายาและสินไซเข้าเมือง ส่วนนางสีดาจันทร์ท้าววรุณนะราชพระยานาคมาขอไปเป็นชายาเหมือนเดิม
ท้าวสินไซก็ได้ครองราชย์ปกครองราษฎรอยู่ในทศพิธิราชธรรมสืบมา
1.1
ที่มาของวรรณกรรมเรื่องสินไซ
เป็นวรรณคดีชิ้นเอกของอีสานและของอาณาจักรล้านช้าง (ล้านช้างหรือลาวในปัจจุบันเรียก
สินไซ)
มีเนื้อหาค่อยข้างยาว แต่สนุกน่าติดตาม ในอดีตเจ้าจอมแว่น
พระสนมเอกในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นลูกสาวคนโตของเพียเมืองแพน
เจ้าเมืองคนแรกของเมืองขอนแก่น ได้มอบหมายให้ชาวขอนแก่นนำวรรณคดีที่เด่น ๆ
ของชาวล้านช้างมาจัดแสดงหมอลำ ส่วนการประพันธ์ขึ้นโดยเจ้าปางคำแห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู
ในราว พ.ศ. 2192 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา
ทุกถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีความหมายไพเราะ
- ผู้เรียบเรียง ครูประมวล พิมพ์เสน
-ต้นฉบับมาจาก ลาว เพราะถือว่าเป็นวรรณคดีขั้นสุดยอดของลาวอีกเล่มหนึ่ง
มหาสิลา วีระวงส์ ซึ่งเป็นผู้รวบรวมแก้ไขได้ให้ความเห็นว่า วรรณกรรมเรื่องนี้แต่งได้ถูกต้องตามแบบแผนของคำกลอนลาวอย่างแท้
-ปีที่แต่ง พ.ศ. 2192
-ปีที่พิมพ์ พ.ศ.
2552
2.วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
2.1วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
นิทานสังข์ศิลป์ชัย (สินไซ) ตั้งชื่อเรื่องมาจากตัวละครเอก
2 ตัวในเรื่อง คือ คำว่า สังข์ มาจาก
สังข์ทองที่มีลักษณะเป็นหอยสังข์ และคำว่า ศิลป์ชัย มาจาก ศิลป์ชัย
ที่มีพระขรรค์และธนูติดตัวมาตั้งแต่เกิด
2.2วิเคราะห์แก่นเรื่อง
ธรรมะย่อมชนะอธรรม
คนชั่วต้องได้รับผลกรรมที่ตนก่อ
2.3โครงเรื่อง
การเปิดเรื่อง :
พระเจ้ากุสราช เมืองเป็งจาน (ปัญจาละ) มีมเหสีชื่อ นางจันทาเทวี และมีพระขนิษฐา ชื่อว่า นางสุมณฑา
ที่มีรูปโฉมงดงามมากเป็นที่หมายปองของโอรสเมืองต่าง ๆ
การดำเนินเรื่อง
1.ยักษ์กุมภัณฑ์เหาะลงมาลักพาตัวนางสุมณฑาไปเป็นภรรยาที่เมืองยักษ์
2.พระกุสราชออกบวชเพื่อตามหานางสุมณฑา แล้วไปเจอลูกเศรษฐี 7 คนที่เมืองจำปา จึงลาสิขา ไปขอนางทั้ง 7
มาเป็นภรรยา
3.มเหสีของพระเจ้ากุสราชทั้ง 8 คนได้คลอดลูก นางทั้ง 6 ออกลูกเป็นคนธรรมดาทั่วไป นางจันทาเทวีออกลูกเป็นสิงห์
นางลุนออกลูกเป็นหอยสังข์และศิลป์ชัยที่มีขรรค์กับธนูติดตัดมาด้วย ทั้ง 5 คนจึงถูกขับไล่ออกจากเมือง
4.
พระกุสราชให้พระกุมารทั้ง 6
คนออกตามหานางกุมณฑา แต่หลอกให้สีโห สังข์ทอง และศิลป์ชัย ตามหาแทนตน
จุดสูงสุดของเรื่อง : นางสุมณฑาได้เจอกับศิลป์ชัยและสังข์ทอง จึงรู้ว่ามาช่วยตน
แต่นางก็เหมือนไม่อยากกลับไปด้วย จึงบอกว่าตนลืม ปิ่น ผ้าสไบ
จึงกลับมาเอาจนยักษ์กุมภัณฑ์มาเจอได้ต่อสู้กับศิลป์ชัยและสังข์ทองจนเสียชีวิต
จุดคลายปม : พระกุมารทั้ง 6 ผลักศิลป์ชัยและสังข์ทองตกเหวหวังจะฆ่าตาย
นางสุมณฑาไม่เชื่อจึงใช้สไบแขวนไว้เพื่อเสี่ยงทาย จึงได้ทราบว่าทั้ง 2 ยังไม่ตาย พระกุสราชรู้ความจริง จึงขับไล่ 6
พระกุมารและมารดากลับเมืองจำปา
การปิดเรื่อง :
ศิลป์ชัยได้ครองเมืองเป็งจาน ปกครองบ้านเมืองด้วยคุณธรรม
และบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข
2.4วิเคราะห์ตัวละคร
1. ตัวละครหลัก
สินไซ เป็นคนที่เกิดมามีพระขรรค์และธนูศิลป์ติดตัวมาด้วย
เก่งในด้านการต่อสู้ เป็นลูกของนางลุน
สีโห ศีรษะของสีโหเหมือนช้าง
ลำตัวเหมือนราชสีห์ เป็นลูกของนางจันทา เป็นพาหนะให้สินไซขี่ในการผจญภัย
สังข์ทอง เป็นหอยสังข์
เปลือกสีขาว มีรูปร่างงดงาม และเป็นลูกของนางลุน
พระยากุสราช เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงเลื่องลือปกครองเมืองเป็งจาน
แต่เป็นคนหูเบา มีมเหสี 8 คน และโอรส 9 คน
นางสุมณฑา เป็นหญิงที่มีรูปร่างตาหน้างดงามดั่งเทพธิดาและจิตใจก็ดีงาม
ยักษ์กุมภัณฑ์ เป็นยักษ์ที่โลภะในความรักความทะยานอยากได้
มีโทสะความอาฆาตพยาบาทโกรธแค้น
2.
ตัวละครรอง
นางจันทา เป็นแม่ของสีโห
มเหสีของพระยากุสราช
สีดาจันทร์ ได้ไปเป็นภรรยาของนาคคืออรุณนาคเป็นพระธิดาของนางสุมณฑาและยักษ์กุมภัณฑ์
เศรษฐีนันทะ เป็นพ่อของนางทั้ง
7 แห่งเมืองจำปา
นางลุน เป็นแม่ของสินไซ
มเหสีของพระยากุสราชและเป็นลูกคนสุดท้ายของเศรษฐีนันทะ
พระกุมารทั้ง 6
เป็นชายธรรมดา โอรสของมเหสีทั้ง 6 มีจิตใจชั่วร้าย ขี้ขลาด และชอบโกหกเพื่อเอาความดีเข้าตัวเอง
มเหสี 6 คน เป็นแม่ของกุมารทั้ง
6 มีนิสัยอิจฉาริษยา ใส่ร้ายผู้อื่น
ท้าววันนุลา เป็นพี่ชายของยักษ์กุมภัณฑ์และขึ้นเป็นเจ้าเมืองอโนราชแทนกุมภัณฑ์
ท้าววรุณนะราชพระยานาค
เป็นสามีของสีดาจันทร์ เจ้าเมืองบาดาล ผู้ที่แพ้พนันสกาสินไซ
นางเกียงคำ เป็นมเหสีเอกของสินไซที่
พบในแม่น้ำกว้าง 7 โยชน์
2.5 ภาษาที่แต่งวรรณกรรมเรื่องสินไซ
ประพันธ์เป็นกลอนอ่าน
ซึ่งเป็นที่นิยมของนักประพันธ์สมัยโบราณ กลอนอ่านสัมผัสน้อย
แต่จะมีการเล่นอักษรวรรคหน้า 3 คำ วรรคหลัง 4 คำ นอกจากนี้จะมีคำเสริมหน้าที่เพื่อเน้นวรรคหรือประโยคนั้น ๆ อีกประมาณ 2-4
คำ และจะมีคำสร้อยต่อท้ายเพื่อเสริมให้ได้เนื้อหาครบถ้วนอีกประมาณ 2-3 คำ
2.6 ภาษาที่ใช้ในการดำเนินเรื่อง
ภาษาลาวล้านช้าง
2.7 วิเคราะห์ฉากหลัก/รอง
2.7.1 ฉากหลัก
1.ฉากเมืองเป็งจาน
เป็นฉากเมืองที่สินไซ
สีโห สังข์ทองกำเนิดขึ้นโดยมีพระกุสราชเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองเมือง
2.ฉากเมืองจำปา
เป็นเมืองที่พระยากุสราชออกบิณฑบาตไปพบสาวงาม
7 นาง ซึ่งเป็นลูกของนันทเศรษฐี
3.ฉากเมืองอโนราช
เป็นเมืองของยักษ์กุมภัณฑ์ที่สินไซไปช่วยอาหรือนางสุมณฑาโดยได้ต่อสู้กันกับกุมภัณฑ์จนกุมภัณฑ์ตาย
2.7.1
ฉากรอง
1.สวนอุทยาน
เป็นฉากที่กุมกัณฑ์มาอุ้มพานางสุมณฑาไปจากอุทยานเมืองเป็งจานเนื่องจากหลงรักนาง
2.ฉากป่า
เป็นฉากที่นางจันทา
นางลุนและลูกทั้ง 3 คือ สินไซ สีโห
สังข์ทอง ไปอาศัยอยู่หลังถูกขับไล่ออกจากเมืองเป็งจาน
3.ฉากปราสาทในป่า
เป็นปราสาทที่พระอินทร์เนรมิตให้เป็นที่อยู่อาศัยของนางจันทา
นางลุนและลูกทั้ง 3 คือ สินไซ สีโห
สังข์ทอง
4.ฉากแม่น้ำ
เป็นฉากที่สินไซข้ามแม่น้ำ
7 โยชน์ ต่อสู้กับยักษ์ วิทยาธร ปราบช้างฉัททันท์
และไปพบบ่อแก้วบ่อเงินบ่อทอง พบนางเกียงคำและบริวาร 500 คน
ผูกสมัครรักไคร่เล่นจนเพลินอยู่ 7 วัน
5.เมืองนาค
เป็นเมืองของอรุณนาคที่นางสีดาจันทร์ลูกสาวสุมณฑาได้แต่งงานด้วย
นางสุมมณฑาให้สินไซไปช่วยนางกับมาด้วยการท้าพนันเล่นสกากับอรุณนาค
6.ฉากน้ำตก
เป็นฉากที่กุมารทั้ง
6 ผลักสินไซตกเหวน้ำตกจนทุกคนคิดว่าสินไซตาย
3.ความโดดเด่นของวรรณกรรมเรื่องสินไซ
วรรณกรรมเรื่องนี้นอกจากมีความงดงามทางภาษาแล้ว
เนื้อหายังสนุกสนานน่าติดตามด้วยการผจญภัยดังประโยคที่ “หกย่านน้ำ
เก้าด่านมหาภัย” ของสินไซ ทั้งนี้ยังเป็นวรรณกรรมอีสานที่สอนที่สอดแทรกเรื่องคุณธรรม
จริยธรรมและการปกครอง
4.การนำไปประยุกต์ใช้ที่ผ่านมา
4.1 ภาพยนตร์แอนิเมชั่น 2
มิติ จากวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องสังข์ศิลป์ชัยที่ปรากฏในฮูปแต้มจังหวัดขอนแก่น เว็บไซต์
https://www.youtube.com/watch?v=mVw00t825b0
4.2 หนังประโมทัย (หนังบักตื้อ) เรื่อง สังข์สินชัย เผยแพร่เมื่อ 10 ต.ค.
2013 คณะทวีคูณ บ้านหนองหญ้ารังกา ตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=xicdr5NYDEs&t=411s
4.3 "สีโห" สัตว์ในวรรณคดี ที่ประตูเมืองขอนแก่น
4.4
วรรณกรรมสินไซเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ โดยเล่าสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่น
นิทานสินไซได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นศิลปะบันเทิง หลายรูปแบบ เช่น หมอลำ
หนังประโมทัย รวมไปถึงฮูปแต้ม เป็นต้น
4.5 ลำเรื่องสังข์สินไซ-ศิลปินภูไท
4.6
ลำเรื่องต่อกลอน คณะสีฟ้าคราม เรื่องสังข์ศิลป์ชัย
4.7
ฟ้อนสังข์ศิลป์ชัย ฟ้อนสังข์ศิลป์ชัยประดิษฐ์ขึ้นโดยวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด
ท่าฟ้อนชุดสังข์ศิลป์ชัยได้ปรับปรุงมาจากท่าฟ้อนของหมอลำหมู่ หรือที่เรียกว่า
ลำกกขาขาว ซึ่งในตอนชมดงจะใช้ทำนองคล้ายทำนองลำเพลิน
4.8 สารคดีเรื่องสะกดรอยสินไซ ผู้แต่ง สัตวแพทย์หญิงนัทธ์หทัย วนาเฉลิม หรือ คุณหมอผึ้ง
4.9 ประติมากรรมรูปสังข์ศิลป์ชัย บนเสาไฟฟ้าริมถนนในเทศบาลนครขอนแก่น
อินโฟกราฟฟิค
ผู้จัดทำ นางสาวบุษกร เข้าใจการ ชั้นปีที 3 หมู่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย รหัสนักศึกษา 57210406420
Playtech Casino: 100% up to $600 + 250 Free Spins
ตอบลบThe new casino site is being 파주 출장안마 developed by Playtech and is one of the best casinos on the 속초 출장샵 online market. 시흥 출장마사지 It 제주 출장마사지 offers an 여주 출장샵 extensive range of live dealer games