ภารกิจพิเศษ
1.สรุปเนื้อหาวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่องสินไซ
มีเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองปัญจาล ซึ่งมีท้าวกุสราชครอง
มีมเหสีชื่อนางจันทา พระขนิษฐาของท้าวกุสราช ชื่อนางสุมณฑา
ถูกยักษ์ลักพาไปเป็นชายา ภายหลังจึงพาชายาทั้งเจ็ดกลับเมือง
อยู่มาไม่นานพระชายาทั้งเจ็ดและพระมเหสีตั้งครรภ์ ประสูติออกมาเป็นโอรสทุกพระองค์
พระมเหสีนางจันทาเทวีประสูติโอรสเป็นราชสีห์ชื่อว่า " สีโห "
ส่วนพระชายาองค์สุดท้องประสูติโอรสชื่อว่า " สินไซ (ศิลปชัย) "
และมีสังข์เป็นอาวุธติดมือมาพร้อมกับประสูติ หมอหูฮา (โหรา)
ทำนายว่าพระโอรสสินไซมีบุญญาธิการมาก สามารถปราบยักษ์และศัตรูได้ทั่วจักรวาล
พี่สาวทั้งหกอิจฉาน้องสาวมา จึงติดสินบนหมอหูฮาให้ทำนายเท็จกราบทูลท้าวกุสราช
ท้าวกุสราช จึงจำยอมขับไล่นางและโอรสสินไซออกจากเมือง
เพราะหมอหูฮาทูลว่าพระโอรสจะนำความวิบัติมาสู่บ้านเมือง ท้าวสีโหโอรสมเหสีจันทาขอติดตามสินไซไปด้วย
มารดาสินไซพร้อมด้วยท้าวสีโหและสินไซก็เดินป่าพเนจรไป
พระอินทร์ทราบเรื่องจึงมาเนรมิตกระท่อมให้แม่ลูกอาศัยอยู่
หกกุมารเจริญวัยได้เสด็จประพาสป่ามาพบกระท่อมของสินไซและมารดา
สินไซได้แสดงอภินิหารให้กุมารทั้งหกชม
วันหนึ่งกุมารทั้งหกอยากอวดอิทธิฤทธิ์ให้บิดาชม
จึงมาติดสินบนให้สินไซเรียกสัตว์เข้าเมือง
พระบิดาเห็นดังนั้นจึงคิดว่าพระกุมารมีอิทธิฤทธิ์สามารถเรียกสัตว์ป่าได้จริง ๆ
พระบิดาจึงสั่งให้กุมารทั้งหกไปติดตามหานางสุมณฑาที่ยักษ์ลักพาไป
พระกุมารทั้งหกจึงอ้อนวอนให้สินไซช่วยเหลือไปตามพระเจ้าอา
พระมารดาไม่อยากให้สินไซไป แต่สินไซได้รับรองกับพระมารดาว่าตนเองมีอิทธิฤทธิ์
มีทั้งสังข์ และท้าวสีโหที่จะช่วยขจัดภัยพิบัติทั้งปวง
พระมารดาจึงยินยอมให้ไปกับกุมารทั้งหก
เมื่อกองโยธาไปถึงฝั่งมหาสมุทรสินไซจึงให้กองโยธาและกุมารทั้งหกตั้งทัพคอยอยู่ที่ฝั่งน้ำ
ตนและสีโหจะไปยังเมืองยักษ์ติดตามนางสุมณฑาเอง
สินไซก็ขี่ท้าวสีโหเหาะไปจนถึงเมืองยักษ์ ได้พบนางสุมณฑาเล่าเรื่องของตนให้ฟัง
นางสุมณฑาก็ยินดีแต่นางเองก็ห่วงพระธิดาชื่อนางสีดาจันทร์ ที่ตกเป็นชายาท้าววรุณนะราชพระยานาค
เพราะยักษ์ผู้เป็นบิดาเสียพนันกับท้าววรุณนะราชพระยานาค
เมื่อยักษ์ผู้เป็นสามีนางสุมณฑาเข้าเมืองทราบว่ามีมนุษย์อยู่ในปราสาท
จึงตามหาจนพบสินไซ ทั้งสองรบกันด้วยศาสตร์ศิลป์ต่าง ๆ นานา
ในที่สุดสินไซก็ฆ่ายักษ์ได้ และไปเมืองนาคเล่นพนันเอาเมืองกับท้าววรุณนะราชพระยานาค
ท้าววรุณนะราชพระยานาค แพ้ยอมยกเมืองให้ แต่ไม่ยอมให้นางสีดาจันทร์
ทั้งสองจึงรบกันสินไซชิงนางไปได้
จึงพานางสุดาจันทร์และนางสุมณฑากลับมายังฝั่งมหาสมุทรที่กุมารตั้งทัพคอยอยู่
กุมารทั้งหกดีพระทัยมาก แต่ไม่รู้จะไปทูลพระบิดาอย่างไรดี จึงหาอุบายฆ่าสินไซ
เมื่อได้โอกาสจึงผลักสินไซตกเหวพร้อมกับสีโห
หกกุมารจึงยกทัพกลับเมืองพานางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์เข้าเมือง
ระหว่าทางนางสุมณฑาเป็นห่วงสินไซมาก
แต่ก็จนใจจึงนำผ้าสไบแขวนไว้อธิษฐานว่าหากสินไซยังมีชีวิตอยู่ ขอให้นางได้พบผ้าผืนนี้อีก
หกกุมารยกทัพกลับถึงเมือง
ท้าวกุสราชบิดาทรงดีพระทัยมาก
ที่หกกุมารมีอิทธิฤทธิ์ปราบยักษ์ปราบนาคได้สำเร็จ จึงจัดงานเฉลิมฉลองเป็นการใหญ่
ส่วนนางสุมณฑาและนางสุดาจันทร์ไม่กล้าจะทูลความจริง เพราะคิดว่าสินไซคงตายแล้ว
วันหนึ่งพ่อค้าสำเภาได้พบผ้าสไบซึ่งเป็นผ้ากษัตริย์ จึงนำมาถวายท้าวกุสราช
นางสุมณฑาเห็นผ้าของตนที่อธิฐานไว้ จึงทราบว่าพระสินไซยังมีชีวิตอยู่
จึงเล่าเรื่องทั้งหมดให้ท้าวกุสราชฟัง
ท้าวกุสราชจึงจัดงานฉลองพระนครเจ็ดวันเจ็ดคืน
เพื่ออุบายให้ท้าวสินไซมาเที่ยวงานเฉลิมฉลอง และให้นางสุมณฑาคอยติดตามดูคนมาเที่ยวงานเพื่อตามหาสินไซ
ฝ่ายสินไซเมื่อถูกผลักตกเหวร้อนถึงพระอินทร์ ๆ
มาช่วยชุบชีวิตแล้วให้กลับไปอยู่กับมารดาตามเดิม
เมื่อมีงานฉลองพระนครก็ไปเดินเที่ยว
นางสุมณฑาพบเข้าจึงให้เข้าเฝ้าท้าวกุสราช ๆ สอบถามความจริงจึงสั่งให้ประหารหมอหูฮา
และขับไล่พระกุมารทั้งหกและพระชายาทั้งหกไปอยู่เมืองจำปา
ท้าวกุศราชก็แต่งราชรถไปรับพระชายาและสินไซเข้าเมือง ส่วนนางสีดาจันทร์ท้าววรุณนะราชพระยานาคมาขอไปเป็นชายาเหมือนเดิม
ท้าวสินไซก็ได้ครองราชย์ปกครองราษฎรอยู่ในทศพิธิราชธรรมสืบมา
1.1
ที่มาของวรรณกรรมเรื่องสินไซ
เป็นวรรณคดีชิ้นเอกของอีสานและของอาณาจักรล้านช้าง (ล้านช้างหรือลาวในปัจจุบันเรียก
สินไซ)
มีเนื้อหาค่อยข้างยาว แต่สนุกน่าติดตาม ในอดีตเจ้าจอมแว่น
พระสนมเอกในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นลูกสาวคนโตของเพียเมืองแพน
เจ้าเมืองคนแรกของเมืองขอนแก่น ได้มอบหมายให้ชาวขอนแก่นนำวรรณคดีที่เด่น ๆ
ของชาวล้านช้างมาจัดแสดงหมอลำ ส่วนการประพันธ์ขึ้นโดยเจ้าปางคำแห่งเมืองหนองบัวลุ่มภู
ในราว พ.ศ. 2192 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยา
ทุกถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีความหมายไพเราะ
- ผู้เรียบเรียง ครูประมวล พิมพ์เสน
-ต้นฉบับมาจาก ลาว เพราะถือว่าเป็นวรรณคดีขั้นสุดยอดของลาวอีกเล่มหนึ่ง
มหาสิลา วีระวงส์ ซึ่งเป็นผู้รวบรวมแก้ไขได้ให้ความเห็นว่า วรรณกรรมเรื่องนี้แต่งได้ถูกต้องตามแบบแผนของคำกลอนลาวอย่างแท้
-ปีที่แต่ง พ.ศ. 2192
-ปีที่พิมพ์ พ.ศ.
2552
2.วิเคราะห์เนื้อเรื่อง
2.1วิเคราะห์ชื่อเรื่อง
นิทานสังข์ศิลป์ชัย (สินไซ) ตั้งชื่อเรื่องมาจากตัวละครเอก
2 ตัวในเรื่อง คือ คำว่า สังข์ มาจาก
สังข์ทองที่มีลักษณะเป็นหอยสังข์ และคำว่า ศิลป์ชัย มาจาก ศิลป์ชัย
ที่มีพระขรรค์และธนูติดตัวมาตั้งแต่เกิด
2.2วิเคราะห์แก่นเรื่อง
ธรรมะย่อมชนะอธรรม
คนชั่วต้องได้รับผลกรรมที่ตนก่อ
2.3โครงเรื่อง
การเปิดเรื่อง :
พระเจ้ากุสราช เมืองเป็งจาน (ปัญจาละ) มีมเหสีชื่อ นางจันทาเทวี และมีพระขนิษฐา ชื่อว่า นางสุมณฑา
ที่มีรูปโฉมงดงามมากเป็นที่หมายปองของโอรสเมืองต่าง ๆ
การดำเนินเรื่อง
1.ยักษ์กุมภัณฑ์เหาะลงมาลักพาตัวนางสุมณฑาไปเป็นภรรยาที่เมืองยักษ์
2.พระกุสราชออกบวชเพื่อตามหานางสุมณฑา แล้วไปเจอลูกเศรษฐี 7 คนที่เมืองจำปา จึงลาสิขา ไปขอนางทั้ง 7
มาเป็นภรรยา
3.มเหสีของพระเจ้ากุสราชทั้ง 8 คนได้คลอดลูก นางทั้ง 6 ออกลูกเป็นคนธรรมดาทั่วไป นางจันทาเทวีออกลูกเป็นสิงห์
นางลุนออกลูกเป็นหอยสังข์และศิลป์ชัยที่มีขรรค์กับธนูติดตัดมาด้วย ทั้ง 5 คนจึงถูกขับไล่ออกจากเมือง
4.
พระกุสราชให้พระกุมารทั้ง 6
คนออกตามหานางกุมณฑา แต่หลอกให้สีโห สังข์ทอง และศิลป์ชัย ตามหาแทนตน
จุดสูงสุดของเรื่อง : นางสุมณฑาได้เจอกับศิลป์ชัยและสังข์ทอง จึงรู้ว่ามาช่วยตน
แต่นางก็เหมือนไม่อยากกลับไปด้วย จึงบอกว่าตนลืม ปิ่น ผ้าสไบ
จึงกลับมาเอาจนยักษ์กุมภัณฑ์มาเจอได้ต่อสู้กับศิลป์ชัยและสังข์ทองจนเสียชีวิต
จุดคลายปม : พระกุมารทั้ง 6 ผลักศิลป์ชัยและสังข์ทองตกเหวหวังจะฆ่าตาย
นางสุมณฑาไม่เชื่อจึงใช้สไบแขวนไว้เพื่อเสี่ยงทาย จึงได้ทราบว่าทั้ง 2 ยังไม่ตาย พระกุสราชรู้ความจริง จึงขับไล่ 6
พระกุมารและมารดากลับเมืองจำปา
การปิดเรื่อง :
ศิลป์ชัยได้ครองเมืองเป็งจาน ปกครองบ้านเมืองด้วยคุณธรรม
และบ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข
2.4วิเคราะห์ตัวละคร
1. ตัวละครหลัก
สินไซ เป็นคนที่เกิดมามีพระขรรค์และธนูศิลป์ติดตัวมาด้วย
เก่งในด้านการต่อสู้ เป็นลูกของนางลุน
สีโห ศีรษะของสีโหเหมือนช้าง
ลำตัวเหมือนราชสีห์ เป็นลูกของนางจันทา เป็นพาหนะให้สินไซขี่ในการผจญภัย
สังข์ทอง เป็นหอยสังข์
เปลือกสีขาว มีรูปร่างงดงาม และเป็นลูกของนางลุน
พระยากุสราช เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงเลื่องลือปกครองเมืองเป็งจาน
แต่เป็นคนหูเบา มีมเหสี 8 คน และโอรส 9 คน
นางสุมณฑา เป็นหญิงที่มีรูปร่างตาหน้างดงามดั่งเทพธิดาและจิตใจก็ดีงาม
ยักษ์กุมภัณฑ์ เป็นยักษ์ที่โลภะในความรักความทะยานอยากได้
มีโทสะความอาฆาตพยาบาทโกรธแค้น
2.
ตัวละครรอง
นางจันทา เป็นแม่ของสีโห
มเหสีของพระยากุสราช
สีดาจันทร์ ได้ไปเป็นภรรยาของนาคคืออรุณนาคเป็นพระธิดาของนางสุมณฑาและยักษ์กุมภัณฑ์
เศรษฐีนันทะ เป็นพ่อของนางทั้ง
7 แห่งเมืองจำปา
นางลุน เป็นแม่ของสินไซ
มเหสีของพระยากุสราชและเป็นลูกคนสุดท้ายของเศรษฐีนันทะ
พระกุมารทั้ง 6
เป็นชายธรรมดา โอรสของมเหสีทั้ง 6 มีจิตใจชั่วร้าย ขี้ขลาด และชอบโกหกเพื่อเอาความดีเข้าตัวเอง
มเหสี 6 คน เป็นแม่ของกุมารทั้ง
6 มีนิสัยอิจฉาริษยา ใส่ร้ายผู้อื่น
ท้าววันนุลา เป็นพี่ชายของยักษ์กุมภัณฑ์และขึ้นเป็นเจ้าเมืองอโนราชแทนกุมภัณฑ์
ท้าววรุณนะราชพระยานาค
เป็นสามีของสีดาจันทร์ เจ้าเมืองบาดาล ผู้ที่แพ้พนันสกาสินไซ
นางเกียงคำ เป็นมเหสีเอกของสินไซที่
พบในแม่น้ำกว้าง 7 โยชน์
2.5 ภาษาที่แต่งวรรณกรรมเรื่องสินไซ
ประพันธ์เป็นกลอนอ่าน
ซึ่งเป็นที่นิยมของนักประพันธ์สมัยโบราณ กลอนอ่านสัมผัสน้อย
แต่จะมีการเล่นอักษรวรรคหน้า 3 คำ วรรคหลัง 4 คำ นอกจากนี้จะมีคำเสริมหน้าที่เพื่อเน้นวรรคหรือประโยคนั้น ๆ อีกประมาณ 2-4
คำ และจะมีคำสร้อยต่อท้ายเพื่อเสริมให้ได้เนื้อหาครบถ้วนอีกประมาณ 2-3 คำ
2.6 ภาษาที่ใช้ในการดำเนินเรื่อง
ภาษาลาวล้านช้าง
2.7 วิเคราะห์ฉากหลัก/รอง
2.7.1 ฉากหลัก
1.ฉากเมืองเป็งจาน
เป็นฉากเมืองที่สินไซ
สีโห สังข์ทองกำเนิดขึ้นโดยมีพระกุสราชเป็นพระมหากษัตริย์ปกครองเมือง
2.ฉากเมืองจำปา
เป็นเมืองที่พระยากุสราชออกบิณฑบาตไปพบสาวงาม
7 นาง ซึ่งเป็นลูกของนันทเศรษฐี
3.ฉากเมืองอโนราช
เป็นเมืองของยักษ์กุมภัณฑ์ที่สินไซไปช่วยอาหรือนางสุมณฑาโดยได้ต่อสู้กันกับกุมภัณฑ์จนกุมภัณฑ์ตาย
2.7.1
ฉากรอง
1.สวนอุทยาน
เป็นฉากที่กุมกัณฑ์มาอุ้มพานางสุมณฑาไปจากอุทยานเมืองเป็งจานเนื่องจากหลงรักนาง
2.ฉากป่า
เป็นฉากที่นางจันทา
นางลุนและลูกทั้ง 3 คือ สินไซ สีโห
สังข์ทอง ไปอาศัยอยู่หลังถูกขับไล่ออกจากเมืองเป็งจาน
3.ฉากปราสาทในป่า
เป็นปราสาทที่พระอินทร์เนรมิตให้เป็นที่อยู่อาศัยของนางจันทา
นางลุนและลูกทั้ง 3 คือ สินไซ สีโห
สังข์ทอง
4.ฉากแม่น้ำ
เป็นฉากที่สินไซข้ามแม่น้ำ
7 โยชน์ ต่อสู้กับยักษ์ วิทยาธร ปราบช้างฉัททันท์
และไปพบบ่อแก้วบ่อเงินบ่อทอง พบนางเกียงคำและบริวาร 500 คน
ผูกสมัครรักไคร่เล่นจนเพลินอยู่ 7 วัน
5.เมืองนาค
เป็นเมืองของอรุณนาคที่นางสีดาจันทร์ลูกสาวสุมณฑาได้แต่งงานด้วย
นางสุมมณฑาให้สินไซไปช่วยนางกับมาด้วยการท้าพนันเล่นสกากับอรุณนาค
6.ฉากน้ำตก
เป็นฉากที่กุมารทั้ง
6 ผลักสินไซตกเหวน้ำตกจนทุกคนคิดว่าสินไซตาย
3.ความโดดเด่นของวรรณกรรมเรื่องสินไซ
วรรณกรรมเรื่องนี้นอกจากมีความงดงามทางภาษาแล้ว
เนื้อหายังสนุกสนานน่าติดตามด้วยการผจญภัยดังประโยคที่ “หกย่านน้ำ
เก้าด่านมหาภัย” ของสินไซ ทั้งนี้ยังเป็นวรรณกรรมอีสานที่สอนที่สอดแทรกเรื่องคุณธรรม
จริยธรรมและการปกครอง
4.การนำไปประยุกต์ใช้ที่ผ่านมา
4.1 ภาพยนตร์แอนิเมชั่น 2
มิติ จากวรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องสังข์ศิลป์ชัยที่ปรากฏในฮูปแต้มจังหวัดขอนแก่น เว็บไซต์
https://www.youtube.com/watch?v=mVw00t825b0
4.2 หนังประโมทัย (หนังบักตื้อ) เรื่อง สังข์สินชัย เผยแพร่เมื่อ 10 ต.ค.
2013 คณะทวีคูณ บ้านหนองหญ้ารังกา ตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=xicdr5NYDEs&t=411s
4.3 "สีโห" สัตว์ในวรรณคดี ที่ประตูเมืองขอนแก่น
4.4
วรรณกรรมสินไซเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ โดยเล่าสืบทอดจากรุ่นต่อรุ่น
นิทานสินไซได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นศิลปะบันเทิง หลายรูปแบบ เช่น หมอลำ
หนังประโมทัย รวมไปถึงฮูปแต้ม เป็นต้น
4.5 ลำเรื่องสังข์สินไซ-ศิลปินภูไท
4.6
ลำเรื่องต่อกลอน คณะสีฟ้าคราม เรื่องสังข์ศิลป์ชัย
4.7
ฟ้อนสังข์ศิลป์ชัย ฟ้อนสังข์ศิลป์ชัยประดิษฐ์ขึ้นโดยวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด
ท่าฟ้อนชุดสังข์ศิลป์ชัยได้ปรับปรุงมาจากท่าฟ้อนของหมอลำหมู่ หรือที่เรียกว่า
ลำกกขาขาว ซึ่งในตอนชมดงจะใช้ทำนองคล้ายทำนองลำเพลิน
4.8 สารคดีเรื่องสะกดรอยสินไซ ผู้แต่ง สัตวแพทย์หญิงนัทธ์หทัย วนาเฉลิม หรือ คุณหมอผึ้ง
4.9 ประติมากรรมรูปสังข์ศิลป์ชัย บนเสาไฟฟ้าริมถนนในเทศบาลนครขอนแก่น
อินโฟกราฟฟิค
ผู้จัดทำ นางสาวบุษกร เข้าใจการ ชั้นปีที 3 หมู่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย รหัสนักศึกษา 57210406420